Welcome to the blog of Ms.Passorn Sripawatakul doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Thesis Summary

Thesis Summary.

Title  PRESCHOOL CHILDREN'S CRITICAL THINKING THOUGH SCIENCE ACTIVITIES
By  SEKSAN    MADWUNGSANG

PRESCHOOL CHILDREN'S CRITICAL THINKING THOUGH SCIENCE ACTIVITIES
- ของ เสกสรร   มาตวังแสง 
- เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตุลาคม 2552
ความมุ่งหมายของการวิจัย
- การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเฉพาะ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยจำแนกรายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
กลุ่มตัวอย่าง
- กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างดังนี้
1. เลือกนักเรียนมา 1 ห้องเรียนจากทั้งหมด 2 ห้องเรียนด้วยการจับสลาก
2. จับสลากนักเรียนจำนวน 15 คน ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้
1. แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
2. แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ผลการศึกษา
- เด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณทั้งในภาพรวมและรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วยส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาอยู่ในระดับที่ดีขึ้น



Article Summary

Article Summary.

Title  เด็กๆอนุบาลสนุกกับ "สะเต็มศึกษา" ผ่านโครงงานปฐมวัย
                 การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เน้นการนำความรู้และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง เพื่อเป็นการปูพื้นฐานให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต ซึ่งส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยรู้จักการแก้ปัญหาและการสืบเสาะหาความรู้ด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัย ทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 และมีความพร้อมที่จะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศในอนาคต 
วิธีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดใจของเด็ก เพื่อให้มีความรู้สึกสนุกในการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มีแนวคิดหลัก ดังนี้
1. ครูต้องเน้นการบูรณาการ
2. ครูต้องช่วยให้นักเรียนมีความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาที่กำลังเรียนในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ
3. เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
4. ท้าทายความคิดของผู้เรียน
5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน

                 

Thai Teacher TV. Summary

Thai Teacher TV. Summary.

Title  สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
จิตวิทยาศาสตร์ คือ การที่เด็กเป็นคนช่างสังเกตและต้องหัดสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งจะใช้การจำลองสถานการณ์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการสืบสวน โดยการสมมติให้เด็กเป็นนักสืบ เพื่อที่จะทำให้เด็กนั้นรู้จักหัดสังเกต ตั้งสมมติฐานของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยครูต้องมีการวางแผนให้กับเด็ก
การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ คือ การที่จะทำอย่างไรให้เด็กรักการเรียนวิทยาศาสตร์ ไม่รู้สึกน่าเบื่อ เรียนแล้วสนุก เด็กนั้นเกิดความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความสงสัย
วิธีการปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ คือ การจัดบรรยากาศในการเรียนการสอนให้กับเด็ก เช่น ในการทดลอง ครูจะต้องเตรียมของให้กับเด็ก เพราะ เด็กยังไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์เองได้
การวัดและประเมินผลที่จะทำให้รู้ว่าเด็กมีจิตวิทยาศาสตร์หรือไม่ คือ การสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เช่น เด็กมีการช่างสังเกตมากขึ้น เด็กสนใจสิ่งรอบๆตัว เด็กรู้ถึงความแตกต่างของสิ่งที่พบเห็น
เด็กที่มีจิตวิทยาศาสตร์ คือ เด็กจะชอบซักถาม ชอบมีข้อสงสัยต่างๆ
เด็กที่ไม่มีจิตวิทยาศาสตร์ คือ เด็กจะไม่ค่อยสนใจ จะนิ่งเฉยในการเรียน ไม่ชอบซักถามครู

ครูประกายแก้ว  เงินกร และครูวาสนา  พรมตา    โรงเรียนปทุมวัน


วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Science Toy

Science Toy.
Name  Reel Car.
Materials to make Reel Car.
1. Reel
2. Candle
3. Plastic band
4. Incense stick , Lumber
5. Cutter


How to make Reel Car.


1. Cut candle let shorter reel.


2. Undercut candle let hole.


3. Break incense stick let as candle and bring plastic band let thread with incense stick.


4. Put plastic band with incense stick and bring plastic band insert in hole reel.


5. Bring tail plastic band let thread as candle.


6. Break incense stick 10-12 cm. insert at hole candle. 


Finish.











บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วันที่  28  พฤศจิกายน  2557
ครั้งที่  15  เวลาเรียน  13:10 น. - 16:40 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                           วันนี้อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับการใช้คำถาม ว่าเป็นเทคนิคที่ใช้เยอะในการสอนเด็กและเป็นเทคนิคที่สำคัญ การถามมีหลายประเภท ดังนี้
คำถาม
1. คำถามเปรียบเทียบ
2. คำถามจำแนกประเภท
3. คำถามให้ยกตัวอย่าง
4. คำถามให้สังเกต
5. คำถามทบทวนความจำ
6. คำถามบอกความหมาย
7. คำถามอธิบาย
ซึ่งนอกจากนี้ยังมีคำถามประเภทอื่นและตัวอย่างคำถาม ดังนี้
- คำถามถามประสบการณ์เดิม 
- คำถามเพื่อให้เด็กวิเคราะห์
- คำถามให้สังเกต เช่น ถ้าเราเปิดไฟทิ้งไว้จะเกิดอะไรขึ้น
- คำถามทบทวนความจำ เช่น ในนิทาน/เพลงมีเนื้อหาอะไรบ้าง
- คำถามอธิบาย เช่น ทำไมกบต้องจำศีล ทำไมฝนจึงตก ทำไมน้ำไหลลงจากที่สูงลงที่ต่ำ
- คำถามบอกความหมาย เช่น ส้มเป็นผลไม้ 
- คำถามเปรียบเทียบ เช่น กล้วยทอดกับกล้วยเชื่อม กล้วยชนิดไหนหวานกว่ากัน

ต่อมาอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มเดิมตามหน่วยที่ของกลุ่มตนเอง แล้วให้แต่ละกลุ่มทำแผ่นพับ ออกแบบสานสัมพันธ์บ้าน โรงเรียน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ผู้ปกครอง ซึ่งจะมีหลากหลายวิธี
ภายในแผ่นพับจะต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. ตราโรงเรียน (เพชร)
2. ชื่อโรงเรียน (โรงเรียนอนุบาลเพชรปัญญา)
3. หน่วย (ก.ไก่ กุ๊ก กุ๊ก)
4. ชื่อเด็ก (เด็กชาย ภูริภัทร  โพธิ์งาม)
5. ระดับชั้นเด็ก (อนุบาล 3/1)
6. ชื่อครูประจำชั้น (คุณครู ภัสสร  ศรีพวาทกุล)
7. วัตถุประสงค์ (ข่าวน่ารู้)
8. เนื้อหา (สาระน่ารู้)
9. คำคล้องจอง/เพลง (ไก่)
10. เกม (เกมจับคู่ความสัมพันธ์)


ด้านนอกแผ่นพับ


ด้านในแผ่นพับ

วิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอ
               - น.ส.ชลธิชา     สุนาคำ    บทความ เรื่อง แนวทางสอนคิดเติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล
               - น.ส.น้ำพุ         ยอดสุข   วิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับคำถามต่างๆอีกครั้ง เพื่อทบทวน และอาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบในการสอบปลายภาคในรายวิชานี้

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
                             ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ไปใช้ในการสานสัมพันธ์บ้าน โรงเรียน โดยนำความรู้ออกมาเผยแพร่ให้ผู้ปกครองได้รับรู้ ผ่านทางแผ่นพับ และดิฉันจะนำความรู้เกี่ยวกับการใช้คำถามต่างๆ ไปใช้ถามเด็กปฐมวัยในระหว่างการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ที่ดีและสามารถพัฒนาให้มีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น

เทคนิคการสอน
                          วันนี้อาจารย์ได้สอนโดยการบรรยายและใช้สื่อมัลติมีเดีย (Microsoft Word) ประกอบในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                    วันนี้ดิฉันมาก่อนเวลาเรียน 15 นาที แต่งกายถูกระเบียบ เรีบยร้อย ตั้งใจเรียน และสนใจเมื่ออาจารย์ถามคำถามและตอบคำถามระหว่างเรียน

ประเมินเพื่อน
                    วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามขณะที่เรียน แต่มีเพื่อนบางคนมัวแต่เล่นและคุยโทรศัพท์มือถือระหว่างเรียน

ประเมินอาจารย์
                    วันนี้อาจารย์มาช้า 15 นาที แต่งกายเรียบร้อย สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส ให้ความรู้ต่างๆเพิ่มเติม
ตั้งใจสอนนักศึกษาอย่างเต็มที่



วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วันที่  21  พฤศจิกายน  2557
ครั้งที่  14  เวลาเรียน  13:10 น. - 16:40 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                         วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกมาส่งของเล่นวิทยาศาสตร์ตามเลขที่ เพื่อเป็นการทบทวน แล้วนำของเล่นวิทยาศาสตร์ออกมาวางที่โต๊ะหน้าชั้นเรียน เพื่อเป็นการแยกประเภท ซึ่งมีดังนี้


1. Gravitation  2. Air pressure,Wind 


3. Sound   4. Water   5. Energy

ต่อมาอาจารย์ก็ได้รวบรวมของเล่นวิทยาศาสตร์ใส่กล่อง แล้วให้นักศึกษาคนที่ยังไม่ได้ออกมานำเสนอวิจัยหรือโทรทัศน์ครูให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

วิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอ
             - น.ส.นิศากร     บัวกลาง     วิจัย เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2
             - น.ส.อินธุอร     ศรีบุญชัย   วิจัย เรื่อง การพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ชั้นอนุบาล 2
             - น.ส.ดวงกมล   คันตะลี      วิจัย เรื่อง ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
             - น.ส.วรรวิภา     โพธิ์งาม    วิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
             - น.ส.พิชากร     แก้วน้อย    โทรทัศน์ครู เรื่อง ส่องนกในโรงเรียน Learning Outside the Classroom : Birdwatching in School 
             - น.ส.กัตติกา     สบานงา    วิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
             - น.ส.ภัสสร       ศรีพวาทกุล  โทรทัศน์ครู เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
             - น.ส.สิโรธร      ลอองเอก      โทรทัศน์ครู เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง เสียงมาจากไหน

อาจารย์ได้สาธิตวิธีการสอน Cooking โดยการทำวาฟเฟิลร่วมกับนักศึกษา จัดโต็ะหน้าชั้นเรียนเป็น 4 มุม แต่ละมุมจะแบ่งหน้าที่กันเป็นฝ่ายต่างๆ ดังนี้ ฝ่ายผสมแป้ง ฝ่ายใส่ไส้ และฝ่ายอบวาฟเฟิล  ควรตัดกระดาษรองใต้ถ้วย กิจกรรม Cooking จะได้ศิลปะไปในตัวด้วย และที่สำคัญครูต้องไม่ลืมที่จะตั้งคำถามระหว่างการทำ Cooking ครูอาจบอกว่าให้เด็กตักข้าวโพด 1 ช้อนชา ลูกเกด 1 ช้อนชา เพื่อเป็นการสอนทักษะทางคณิตศาสตร์ไปด้วย
Materials to make waffle
1. Waffle maker
2. Butter
3. Waffle powder
4. Topping as corn raisin banana milo powder etc.
5. Egg
6. Water
7. Mixer
8. Brush
9. Dish
10. Spoon and fork
11. Knife
ซึ่งวิธีการทำวาฟเฟิลและบรรยากาศในการทำวาฟเฟิล มีดังนี้


Teacher talk about materials and how to make waffle.


Materials in my group.


Pour waffle powder to bowl.


Pour water to bowl and stir.


Pour egg to bowl and stir.


Fill butter to bowl and stir.


Ready.


Make waffle and wait 5 - 8 min.


Finish !!! Delicious.

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
                          ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้การประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น สนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น ครูสามารถให้เด็กปฐมวัยได้ประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเองได้ โดยมีครูเป็นผู้ดูแล การที่เด็กปฐมวัยได้ลงมือกระทำลงมือปฏิบัติสื่อวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองนั้น จะเป็นการสร้างเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และทำให้เด็กปฐมวัยรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์ไม่ได้น่าเบื่ออีกต่อไป 

เทคนิคการสอน
                        วันนี้อาจารย์ได้สอนโดยการบรรยายอย่างเดียว โดยอาจารย์ได้บรรยายเกี่ยวกับประเภทของของเล่นวิทยาศาสตร์ว่ามีกี่ประเภท จากที่นักศึกษาได้ประดิษฐ์มาคนละ 1 ชิ้น และอาจารย์ได้ถามเกี่ยวกับงานวิจัยหรือโทรทัศน์ครูจากที่นักศึกษาได้ทำการสรุปมาแล้ว ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                      วันนี้ดิฉันแต่งกายถูกระเบียบ เรียบร้อย ตั้งใจเรียน รู้สึกตื่นเต้น เมื่อออกไปสรุปโทรทัศน์ครูหน้าชั้นเรียน และรู้สึกตื่นเต้นกับการทำวาฟเฟิล เพราะ เป็นการทำวาฟเฟิลเองครั้งแรก

ประเมินเพื่อน
                     วันนี้เพื่อนบางคนไม่ค่อยสนใจฟังในการนำเสนอวิจัย แต่เพื่อนๆทุกคนตื่นเต้นที่ได้ทำวาฟเฟิล เพื่อนๆดูมีความสุข เมื่อได้ทำวาฟเฟิลด้วยตนเอง

ประเมินอาจารย์
                     วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สุภาพ ในช่วงต้นคาบเรียน อาจารย์ดูเครียดๆกับการนำเสนอวิจัยของนักศึกษา แต่พอถึงช่วงการทำวาฟเฟิล อาจารย์ก็ดูร่าเริงและอารมณ์ดีขึ้น อาจารย์มีเทคนิคในการสอนต่างๆมากมายมาบอกและสอนนักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น และอาจารย์ยังฝึกให้นักศึกษาได้กระทำด้วยตนเองอีกด้วย




วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วันที่  14  พฤศจิกายน  2557
ครั้งที่  13  เวลาเรียน  13:10 น. - 16:40 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                       วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนคนที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์และคนที่อาจารย์บอกให้ไปแก้ของเล่นวิทยาศาสตร์ ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งมีดังนี้
- น.ส.สุธิดารัตน์     เกิดบุญมี        (กงจักรมหัศจรรย์)
ต่อมาอาจารย์ก็ให้เพื่อนอีก 2 กลุ่ม ที่โดนแก้วิธีการสอนมาสอนใหม่หน้าชั้นเรียน ซึ่งมีดังนี้
วันที่ 1 หน่วย แปรงสีฟัน
- เริ่มต้นการสอนโดยใช้เพลงสวัสดี อ่านคำคล้องจองแปรงสีฟันให้เด็กฟัง สอนให้เด็กรู้จักชื่อและชนิดของแปรงสีฟัน ว่ามีอะไรบ้าง มีแปรงสีฟันเด็ก แปรงสีฟันผู้ใหญ่ และแปรงสีฟันไฟฟ้า
คำแนะนำจากอาจารย์
- อาจารย์แนะนำดังนี้ ให้อ่านคำคล้องจองแล้วให้เด็กอ่านตาม ให้เด็กออกมาเลือกภาพแปรงสีฟัน ถ้าเป็นเด็กเล็กนำมาแปะด้านล่าง ให้ใช้การจับ 1 : 1 เช่น แปรงสีฟันเด็ก : ไม่ใช่แปรงสีฟันเด็ก เพื่อเป็นการนับจำนวน ว่ามีมากกว่าอยู่เท่าไร ครูควรถามเนื้อหาในคำคล้องจองจากเด็ก เพื่อทบทวนว่าเด็กมีความเข้าใจในคำคล้องจองหรือไม่ แล้วนอกจากนี้เด็กยังรู้จักแปรงชนิดไหนอีก เพื่อเป็นการถามประสบการณ์เดิมของเด็ก ควรใช้คำศัพท์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ควรเลือกเพลงให้เหมาะกับการเรียน ไม่ควรเลือกเพลงที่เต้นจนเกินไป
วันที่ 2 หน่วย ผีเสื้อ
- เริ่มต้นการสอนโดยการใช้เพลงสวัสดีแบบไทยๆ แล้วสอนให้เด็กรู้จักลักษณะและส่วนประกอบของผีเสื้อ มีรูปผีเสื้อมาให้เด็กดู 2 ชนิด
คำแนะนำจากอาจารย์
- อาจารย์แนะนำดังนี้ ให้ใช้เพลงHello Hello how are you. จะดีกว่า ครูควรถามเด็กว่ารู้จักแมลงอะไรบ้าง ครูร้องเพลงผีเสื้อ แล้วถามเด็กว่า ในเพลงมีผีเสื้อสีอะไรบ้าง ครูเอารูปผีเสื้อให้เด็กดู แล้วถามเด็กว่าเคยเห็นผีเสื้อแบบนี้ไหม มีสีอะไร ผีเสื้อกำลังทำอะไรอยู่ ควรเขียนตารางให้ถูกต้องว่าส่วนประกอบของผีเสื้อมีอะไรบ้าง มีหนวด ท่องวง ส่วนอก ขา อวัยวะเพศ ปีก และตารวม
วันที่ 1 หน่วย กล้วย
- เริ่มต้นการสอนโดยครูร้องเพลงกล้วย แล้วให้เด็กร้องตาม แล้วสอนให้เด็กรู้จักกล้วยชนิดต่างๆ ว่ามีกล้วยอะไรบ้าง มีกล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหักมุก เป็นต้น
คำแนะนำจากอาจารย์
- อาจารย์แนะนำดังนี้ ให้เด็กอ่านตามครู แล้วครูร้องให้เด็กร้องตาม แล้วครูและเด็กร่วมกันร้อง ครูควรถามเด็กว่าในเพลงมีกล้วยอะไรบ้าง แล้วครูก็เขียนเป็น Mind Map แล้วครูก็ถามเด็กว่ารู้จักกล้วยชนิดไหนอีก พอเด็กตอบ ครูก็เขียนเพิ่มลงไปใน Mind Map ครูมีรูปกล้วยให้เด็กดู แล้วบอกเด็กว่าคือกล้วยอะไร ให้เด็กแยกกล้วยหอมออกมาด้านล่าง โดยการถามว่า อันไหนมีมากกว่ากัน พิสูจน์โดยการจับ 1 : 1 แล้วสรุปว่าอันไหนมีมากกว่ากัน ครูทบทวนว่าเด็กรู้จักกล้วยกี่ชนิด มีอะไรบ้าง และอาจารย์แนะนำเรื่องการเขียน Mind Map ควรเขียนเป็นแผ่นเดียว 
อาจารย์ได้สาธิตวิธีการสอน Cooking โดยการทำทาโกะยากิ จัดโต๊ะหน้าชั้นเรียนเป็น 4 มุม ควรตัดกระดาษรองใต้ถ้วย กิจกรรม Cooking จะได้ศิลปะไปในตัวด้วย ครูต้องไม่ลืมที่จะตั้งคำถามในระหว่างการทำ Cooking ครูอาจบอกว่าให้เด็กตักปูอัด ครึ่งช้อนชา แครอท ครึ่งช้อนชา เพื่อเป็นการสอนทักษะทางคณิตศาสตร์ไปด้วย
อุปกรณ์และวัตถุดิบที่ใช้ในการทำทาโกะยากิ มีดังนี้
1. เตาที่ใช้สำหรับทำทาโกะยากิ
2. เนย
3. ไข่ (ใช้แทนแป้ง)
4. เครื่องต่างๆ เช่น ปูอัด ต้นหอม แครอท ข้าว
5. ซอสปรุงรส
6. มีด
7. ช้อน-ส้อม
8. ถ้วยพลาสติก
ซึ่งบรรยากาศในการทำทาโกะยากิ มีดังนี้


จุดเตรียมหั่นเครื่องไว้ใส่ในทาโกะยากิ


อาจารย์กำลังอธิบายวิธีการทำทาโกะยากิ


ดิฉันและเพื่อนกำลังใส่เครื่องและซอสเพื่อปรุงรส


ใส่เครื่องพร้อมปรุงเรียบร้อย พร้อมเทลงเตาค่ะ


ใช้เนยหยอดลงไป เพื่อทดสอบเตาว่าร้อนหรือยัง


พอเตาร้อน ก็ใส่ไข่พร้อมเครื่องลงไป พอสุกแล้วพลิกด้านไปมา


เสร็จแล้วก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
                       ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ในเรื่อง วิธีการสอนในหน่วยต่างๆ ไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และดิฉันจะนำความรู้ในเรื่อง การทำ Cooking ไปใช้สอนเด็กปฐมวัยให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และที่สำคัญในระหว่างการทำ Cooking ครูต้องไม่ลืมที่จะตั้งคำถามกับเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการสังเกต และพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

เทคนิคการสอน
                      วันนี้อาจารย์ได้สอนโดยการบรรยายอย่างเดียว เพราะ การสอนวิธีการสอนที่ถูกต้องและการสอนทำ Cooking จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย และเข้าใจได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น กว่าการสอนโดยการใช้สื่อมัลติมีเดีย  

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                    วันนี้ดิฉันแต่งกายถูกระเบียบ เรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน เวลาอาจารย์สอนและอธิบายวิธีการสอนและวิธีการทำ Cooking ดิฉันก็ตั้งใจจดสิ่งที่เป็นความรู้ และคิดตามเมื่ออาจารย์ถามคำถาม

ประเมินเพื่อน
                   วันนี้เพื่อนขาดเรียนหลายคน ทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมกันทำกิจกรรมCookingกันอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์
                   วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย มาสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน แต่บางครั้งอาจารย์ก็พูดให้นักศึกษาเข้าใจได้ยากไปเล็กน้อย อาจารย์มีท่าทางเครียด เมื่อตรวจแผนการจัดประสบการณ์และวิธีการสอน แต่อาจารย์ยิ้มแย้ม แจ่มใส ตอนทำ Cooking (ทาโกะยากิ,ไข่หรรษา)















บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วันที่  7  พฤศจิกายน  2557
ครั้งที่  12  เวลาเรียน  13:10 น. - 16:40 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                     วันนี้อาจารย์ได้ตรวจความถูกต้องของแผนการจัดประสบการณ์และดูวิธีการสอนของแต่ละหน่วย ซึ่งมีดังนี้
วันที่ 1 หน่วย กล้วย
- เพื่อนเริ่มด้วยการใช้เพลงสวัสดี แล้วถามเด็กเกี่ยวกับชนิดของกล้วย ร้องเพลงกล้วยให้เด็กฟัง แล้วให้เด็กบอกว่ารู้จักกล้วยชนิดไหนบ้างจากเพลง 
คำแนะนำจากอาจารย์
- วัตถุประสงค์ไม่ผ่าน อาจารย์ได้แนะนำวิธีการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กลุ่มกล้วย ครูต้องมีความรอบรู้ มีความใฝ่รู้ เมื่อเด็กคุยกัน ครูต้องเก็บเด็กให้เด็กสนใจฟัง อาจารย์ได้ยกตัวอย่าง การแยกกลุ่ม ให้เด็กสังเกตลักษณะ เช่น สี ขนาด รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น
วันที่ 2 หน่วย กบ
- เพื่อนใช้คำถามว่า เมื่อวานเด็กๆเรียนเรื่องอะไรไปบ้าง เด็กตอบว่าชนิดของกบ ต่อมาครูพาเด็กร้องเพลงกบ 
คำแนะนำจากอาจารย์
- ให้ถามเด็กหลังจากร้องเพลงกบ ว่ากบมีลักษณะอย่างไรบ้าง เช่น ลักษณะของกบนา เด็กบอกกบนามีสีน้ำตาล ในขณะที่เด็กตอบ ครูต้องบันทึกสิ่งที่เด็กพูด
วันที่ 3 หน่วย กะหล่ำปลี
- สอนเรื่องประโยชน์และโทษ เพื่อนเริ่มต้นคำถามที่ว่า เด็กๆเคยเห็นกะหล่ำปลีที่ไหนบ้าง เด็กๆคิดว่ากะหล่ำปลีมีลักษณะอย่างไรบ้าง กะหล่ำปลีมีประโยชน์อะไรบ้าง เด็กตอบว่า ทำให้ฟันแข็งแรง ทำอาหาร ทำกระทง ทำให้ร่างกายแข็งแรง ข้อควรระวังของกะหล่ำปลี มีสารพิษ ขม มีดินติดอยู่ 
คำแนะนำจากอาจารย์
- อาจารย์แนะนำดังนี้ ขั้นนำต้องหาเทคนิคให้สอดคล้องกับเรื่องที่สอน ให้เด็กได้มีส่วนร่วม และให้เด็กได้คิดจากประสบการณ์เดิม สามารถนำไปแปรรูปได้ ต้องหาข้อมูลเพิ่ม 


วันที่ 4 หน่วย ส้ม
- เริ่มสอนโดยการใช้เพลงตบมือ เปาะแปะ เรียกแพะเข้ามา แพะไม่มา ปิดประตูรูดซิป พร้อมทำท่าทางประกอบเพลง ครูมีรูปส้มมาให้เด็กดู แล้วให้เด็กเล่านิทานจากภาพ  ต่อมาครูถามเด็กถึงประโยชน์ของส้ม ซึ่งมีดังนี้ ครูบอกและนำภาพมาให้เด็กดู น้ำส้มคั้น สบู่ สมุนไพร เป็นต้น ครูให้เด็กออกมาคั้นน้ำส้ม ก่อนที่เด็กจะคั้นน้ำส้ม ครูก็อธิบายอุปกรณ์ วิธีใช้และข้อควรระวัง เมื่ิอเด็กคั้นน้ำส้มเสร็จแล้ว ครูก็ให้เด็กชิม แล้วส่งต่อไปให้เพื่อนในห้องชิม 
คำแนะนำจากอาจารย์
- อาจารย์แนะนำดังนี้ เมื่อเด็กตอบ ครูควรบันทึกสิ่งที่เด็กตอบ ประโยชน์ของส้ม ควรแต่งเป็นนิทานมากกว่า


วันที่ 5 หน่วย ดอกมะลิ
- เริ่มสอนโดยการใช้เพลงเด็กๆที่น่ารัก แล้วถามคำถามเด็กว่า เด็กๆรู้จักดอกมะลิชนิดอะไรบ้างคะ ต่อมาครูให้เด็กบอกประโยชน์ของดอกมะลิ  ให้เด็กท่องคำคล้องจองดอกมะลิ ต่อมาครูอธิบายวัสดุอุปกรณ์ในการทำ Cooking แล้วครูก็บอกวิธีการทำ Cooking แล้วให้เด็กออกมาทำดอกมะลิชุบแป้งทอด โดยครูเป็นผู้ดูแล 
คำแนะนำจากอาจารย์
- อาจารย์แนะนำดังนี้ ประโยชน์มันกว้างมาก อาจจะสอน 2 วันได้ ครูต้องตั้งคำถาม เช่น ถ้าน้ำมันกำลังเดือด ครูควรถามเด็กว่า ถ้าครูหยอดแป้งลงไปในกระทะจะเกิดอะไรขึ้น


วันที่ 1 หน่วย แปรงสีฟัน
***หมายเหตุ ไม่ได้นำเสนอในวันนี้ค่ะ
วันที่ 2 หน่วย ผีเสื้อ
***หมายเหตุ ไม่ได้นำเสนอในวันนี้ค่ะ
วันที่ 3 หน่วย ไก่ (หน่วยของกลุ่มดิฉัน)
- เริ่มสอนโดยการถามเด็กๆว่า ที่อยู่อาศัยของไก่มีที่ไหนบ้างคะ เด็กตอบว่า เล้า สุ่ม ทุ่งนา อาหารของไก่มีอะไรบ้างคะ เด็กตอบว่า ข้าวเปลือก ผัก หนอน ไส้เดือน วิธีดูแลรักษาไก่มีอะไรบ้างคะ เด็กตอบว่า ฉีดวัคซีน ในขณะที่เด็กตอบ ครูก็จดบันทึกสิ่งที่เด็กตอบเป็นแผนผังความคิด ต่อมาครูก็ท่องคำคล้องจองให้เด็กฟัง และครูและเด็กร่วมกันท่องคำคล้องจอง ต่อมาครูก็ให้เด็กหาพื้นที่ให้ตัวเอง แล้วครูก็เปืดเพลง Chicken Dance แล้วก็เต้น ให้เด็กทำท่าตามคุณครูหรือบางคนอาจจะคิดท่าเองก็ได้ จบการสอนค่ะ
คำแนะนำจากอาจารย์
- อาจารย์แนะนำดังนี้ ควรมีภาพสื่อให้เด็กดูด้วย ควรมีภาพประกอบคำคล้องจอง ควรถามเด็ก โดยใช้คำถามปลายเปิด ว่าในคำคล้องจองเด็กๆรู้จักอะไรบ้าง 


วันที่ 4 หน่วย ปลา
- ครูอธิบายวัสดุอุปกรณ์ ในการทำปลาทูทอด ครูให้เด็กออกมาทอดปลาทู  เมื่อทอดเสร็จให้เด็กแบ่งกันชิมปลาทูทอดกับข้าวเปล่า 
คำแนะนำจากอาจารย์
- อาจารย์แนะนำดังนี้ การทำ Cooking ต้องขึ้นอยู่กับวิธีการ ดูวิธีการว่ายากหรือง่าย


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
                     ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปปรับปรุงในเรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ และเทคนิควิธีการสอน ให้ถูกต้อง เหมาะสมตามหลักการที่อาจารย์สอน เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุด และผลจากการที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์และเทคนิควิธีการสอนมีประสิทธิภาพมากที่สุด

เทคนิคการสอน
                   วันนี้อาจารย์ได้สอนโดยการบรรยายอย่างเดียว เพราะ ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และวิธีการสอน ใช้การบรรยายจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจได้ง่าย และเข้าใจได้ละเอียดกว่าการสอนโดยการใช้สื่อมัลติมีเดีย

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                    วันนี้ดิฉันแต่งกายถูกระเบียบ เรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน เมื่อกลุ่มดิฉันออกไปสอนหน่วย ไก่ หน้าชั้นเรียน ดิฉันก็ตั้งใจสอนอย่างเต็มที่

ประเมินเพื่อน
                  วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนเป็นส่วนใหญ่ แต่บางกลุ่มอาจารย์ก็ให้ไปฝึกวิธีการสอนมาใหม่

ประเมินอาจารย์
                วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา มีความตั้งใจในการสอนอย่างมาก คอยแนะนำวิธีการสอนต่างๆ อย่างละเอียดเป็นอย่างดี เพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุงตนเองและปรับใช้กับการเป็นครูปฐมวัยในอนาคตได้






   




วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วันที่  24  ตุลาคม  2557
ครั้งที่  11  เวลาเรียน  13:10 น. - 16:40 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                   วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ แล้วให้แต่ละคนบอกว่าของเล่นที่ตนทำมา เป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร ซึ่งมี่ดังนี้
- น.ส.นฤมล          เส้งเซ่ง       (โยนไข่)
- นายวรมิตร         สุภาพ         (เครื่องบินกระดาษ)


- น.ส.บุณยาพร     พลคร         (กระป๋องโยกเยก)
- น.ส.อารียา         เอี่ยมโพธิ์    (ป.ปลาตากลม)
- น.ส.อริสรา         ภูษิต           (แก้วกระโดด)
- น.ส.ธนาภรณ์     ใจกล้า        (นักดำน้ำ)
- น.ส.พรวิมล        ปาผล         (กบกระโดด)
- น.ส.สิโรธร         ลอองเอก   (บูมเมอแรง)


- น.ส.ประภัสสร      หนูศิริ       (ปืนยิงลูกบอลจากลูกโป่ง)
- น.ส.วรรณา          เอี่ยมวิสุทธิสาร   (ธนูจากไม้ไอติม)
- น.ส.กัญญารัตน์   หนองหงอก        (กระป๋องผิวปาก)
- น.ส.อรุณี             พระนารินทร์       (ตุ๊กตาโยกเยก)
- น.ส.กันยารัตน์     ทุยเที่ยงสัตย์      (เรือโจรสลัดลอยน้ำ)
- น.ส.เนตรนภา      ไชยแดง             (กังหันบิน)
- น.ส.วรรวิภา         โพธิ์งาม             (ไก่กระต๊าก)
- น.ส.เจนจิรา         ต่อศรี                 (แท่นยิง)
- น.ส.บุษราคัม       สะรุโณ               (เขาวงกต)
- น.ส.สุธิดารัตน์     เกิดบุญมี            (กงจักรมหัศจรรย์)
- น.ส.ทิพย์มณี       สมศรี                 (หนูวิ่ง)
- น.ส.พิชากร         แก้วน้อย            (รถพลังลมลูกโป่ง)


- น.ส.วรุญยุพา      เลิศศรี           (ลูกข่าง)
- น.ส.ณัฐชยา        ชาญณรงค์    (รถของเล่น)
- น.ส.กัตติกา         สบานงา       (ไหมพรมเต้นระบำ)
- น.ส.กมลมาศ      จันทร์ไพศรี   (ป๋องแป๋ง)
- น.ส.นิศากร         บัวกลาง        (โมบายสายรุ้ง)


- น.ส.ศศิภา        กองทรง      (ฟองสบู่แสนเพลิน)
- น.ส.มธุรินทร์    อ่อนพิมพ์    (ขวดน้ำหนังสติ๊ก)
- น.ส.อริสา         ยุนุห์           (จรวดจากหลอดกาแฟ)
- น.ส.ภัสสร        ศรีพวาทกุล    (รถหลอดด้าย)  ***ดิฉันลืมให้เพื่อนถ่ายรูปตอนนำเสนอให้


- น.ส.ดวงกมล   คันตะลี        (จั๊กจั่น)
- น.ส.สุนิสา       บุดดารวม     (กลองแขก)
- น.ส.ศิรวรรณ   ญาณสูตร     (ประทัดกระดาษ)
- น.ส.บุศรา       นิ่มอนงค์      (รถล้อเดียว)
- น.ส.อินธุอร     ศรีบุญชัย     (เป่ารถ)
- น.ส.น้ำพุ        ยอดสุข        (เรือใบไม่ล่ม)
- น.ส.สกาวเดือน   สอิ้งทอง     (ทะเลในขวดน้ำ)
- น.ส.ชนกนันท์     แบนกระโทก   (แก้วส่งเสียง)
           อาจารย์ก็ได้พูดถึงหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ ภายในกลุ่มเรียน 104 แล้วถามนักศึกษาว่าแต่ละหน่วยสามารถประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ได้อย่างไรจากที่เพื่อนได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์  ต่อมาอาจารย์ได้แนะนำเรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ว่าต้องมีวัตถุประสงค์ เน้นด้านสติปัญญา ต้องมีสาระที่ควรเรียนรู้ ต้องมีประสบการณ์สำคัญทั้ง 4 ด้าน แตกเนื้อหาเป็น Mind Map ต้องมีบูรณาการทักษะรายวิชา เช่น  คณิตศาสตร์ - เปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า  วิทยาศาสตร์ - การสังเกต การคาดคะเนเหตุการณ์  ต้องมีกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม และต้องมีกรอบพัฒนาการและกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
                   ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ในการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย สามารถสอนเด็กปฐมวัยให้รู้จักประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง และนอกจากนี้ดิฉันจะนำความรู้ เรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ มาใช้กับการเป็นครูปฐมวัยในอนาคต เพื่อใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย ให้เป็นไปตามแผนที่เราวางไว้ สอนให้ถูกต้องตามหลักการและสอนอย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน

เทคนิคการสอน
                 วันนี้อาจารย์ได้สอนโดยการบรรยายและใช้สื่อมัลติมีเดีย (Power point) ประกอบในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ผู้เรียนยังได้รับความรู้เพิ่มเติมโดยตรง จากการที่เพื่อนออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียน พร้อมกับอธิบายว่าของเล่นชิ้นนั้นเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                  วันนี้ดิฉันมาเรียนทันเวลา แต่งกายถูกระเบียบ เรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ ตั้งใจจดความรู้เพิ่มเติมจากการเรียนในวันนี้ และดิฉันรู้สึกตื่นเต้นนิดหน่อย เมื่อต้องออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียน 

ประเมินเพื่อน
                วันนี้เพื่อนๆสนใจฟังเพื่อนเวลาที่เพื่อนออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียนอย่างตั้งใจ และช่วยกันตอบคำถามเวลาที่อาจารย์ถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในวันนี้

ประเมินอาจารย์
                วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย สนใจฟังนักศึกษาทุกคน เมื่อนักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียนอย่างตั้งใจ พร้อมถามคำถามและให้ข้อเสนอแนะในการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ต่างๆ แต่ช่วงกลางคาบเรียนเสียงไลน์ในโทรศัพท์มือถืออาจารย์ดังหลายรอบ สักพักอาจารย์ก็ได้ปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนในระหว่างการเรียนการสอน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วันที่  18  ตุลาคม  2557 (ชดเชยวันที่ 23 ตุลาคม วันปิยมหาราช )
ครั้งที่  10  เวลาเรียน  13:00 น. - 16:00 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
                 วันนี้อาจารย์ได้ตรวจแผนการจัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม และอาจารย์ได้ยกตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ หน่วย เครื่องเขียน  เริ่มจากการร้องเพลงเกี่ยวกับเครื่องเขียนให้ฟัง แล้วให้เด็กบอกว่าเด็กรู้จักปากกาอะไรบ้างจากเพลง ถ้าเป็นเด็กเล็กให้ออกมาหยิบตัวเลขมาวางตรงจำนวนสุดท้ายของเครื่องเขียน แต่ถ้าเป็นเด็กโตให้เขียนตัวเลขใส่กระดาษแล้วนำมาวางตรงจำนวนสุดท้ายของเครื่องเขียน โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่างเครื่องเขียนทั้งหมด 8 ชิ้น ดังนี้ ปากกา 5 ด้าม ดินสอ 3 แท่ง ต่อมาก็ให้เด็กออกมาแยกปากกาออกจากดินสอ จะได้ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) โดยให้แยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 
1. กลุ่มที่เป็นปากกา
2. กลุ่มที่ไม่ใช่ปากกา 
ต่อมาอาจารย์ก็ได้ทบทวนกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม (Main activities) ดังนี้
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
    - การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
    - การปฏิบัติตามคำสั่งและข้อตกลง
    - การฝึกทำท่าทางเป็นผู้นำ - ผู้ตาม
    - การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
    - การเลียบแบบ
2. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
    - การวาดภาพระบายสี
    - การพิมพ์ภาพ
    - การตัด พับ ฉีก ปะ
    - การประดิษฐ์
    - การปั้น
3. กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง
    - การเล่นเครื่องเล่นสนาม
    - การเล่นน้ำ
    - การเล่นทราย
    - การเล่นบทบาทสมมติในบ้านจำลอง
    - การเล่นในมุมช่างไม้
    - การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา
    - การเล่นเกมการละเล่น
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
    - การสนทนา อภิปราย
    - การร้องเพลง เล่นเกม
    - การเล่นบทบาทสมมติ
    - การทดลอง/ปฏิบัติการ
    - การสาธิต
    - การเล่านิทาน
5. กิจกรรมเสรี
    - มุมศิลปะ
    - มุมเกมการศึกษา
    - มุมบทบามสมมติ
    - มุมบล็อก
6. เกมการศึกษา
    - เกมจับคู่
    - เกมภาพตัดต่อ
    - เกมจัดหมวดหมู่
    - เกมวางภาพต่อปลาย
    - เกมเรียงลำดับเหตุการณ์ต่างๆ
    - เกมศึกษารายละเอียดของภาพ
    - เกมหาความสัมพันธ์ 2 แกน
    - เกมโดมิโน

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
                 ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยในหน่วยต่างๆ ให้ถูกหลักการสอน เป็นไปตามขั้นตอน ตามลำดับ ใช้คำถามปลายเปิดในการถามเด็กและคิดกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ในหน่วยนั้นๆ เพื่อให้เด็กปฐมวัยเข้าใจมากยิ่งขึ้น

เทคนิคการสอน
               วันนี้อาจารย์ได้สอนโดยการบรรยายและใช้สื่อมัลติมีเดีย (ใช้เครื่องฉายสไลด์แผ่นความรู้) ประกอบในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพและเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมากยิ่งขึ้น

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
                วันนี้ดิฉันตั้งใจเรียน ตั้งใจจดสิ่งที่เป็นความรู้ระหว่างเรียน แต่งกายถูกระเบียบ เรียบร้อย และสนใจฟังเวลาอาจารย์อธิบายและยกตัวอย่างในการสอน หน่วย เครื่องเขียน โดยใช้เทคนิคที่สำคัญต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น 

ประเมินเพื่อน
               วันนี้เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถามระหว่างเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์
               วันนี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย ในขณะที่สอนอาจารย์ก็พูดเข้าใจยากในบางครั้ง แต่ในที่สุดอาจารย์ก็พยายามอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจได้

     

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน
วันที่  17  ตุลาคม  2557
ครั้งที่  9  เวลาเรียน  13:10 น. - 16:40 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
               วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาระดมความคิดก่อนเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ดังนี้
- Day 1  Type
- Day 2  Style
- Day 3  Propagation
- Day 4  Benefit
- Day 5  Caution
Science process skills
1. ทักษะการสังเกต  (Observation)
2. ทักษะการจำแนกประเภท  (Classifying)
3. ทักษะการวัด  (Measurement)
4. ทักษะการสื่อความหมาย  (Communication)
5. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล  (Inferring)
6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา  (Space)
7. ทักษะการคำนวณ  (Calculation)
Main activities
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
3. กิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง
4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์
5. กิจกรรมเสรี
6. เกมการศึกษา

สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
               ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปปรับใช้กับการเป็นครูปฐมวัยในอนาคต นำไปพัฒนาในการเรียนของตนเอง สอนให้เด็กปฐมวัยรู้จักทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั้ง 7 ข้อ และสอนให้เด็กปฐมวัยรู้จักกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้กับช่วงปฐมวัย เพราะ กิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม ถือเป็นกิจกรรมที่ครูปฐมวัยจะต้องจัดให้กับเด็กปฐมวัยได้ทำกิจกรรม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีมากยิ่งขึ้น

เทคนิคการสอน
             วันนี้อาจารย์ได้สอนโดยการบรรยายและใช้สื่อมัลติมีเดีย (Power point) ประกอบในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
              วันนี้ดิฉันรู้สึกง่วงนอนเล็กน้อย แต่ช่วงหลังๆดิฉันก็รู้สึกหายง่วง แล้วก็ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน เมื่ออาจารย์ถามคำถามดิฉันก็คิดตามไปด้วย

ประเมินเพื่อน
              วันนี้เพื่อนๆตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและช่วยกันตอบคำถามเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ แต่เพื่อนบางคนก็ดูเหมือนยังไม่เข้าใจกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เท่าที่ควร

ประเมินอาจารย์
              วันนี้อาจารย์สอนได้เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างประกอบ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น และอาจารย์ก็มีการเล่นมุกตลกเป็นบางครั้ง เพื่อให้นักศึกษาไม่เครียดกับการเรียนจนเกินไป


วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วันที่  10  ตุลาคม  2557
ครั้งที่  8  เวลาเรียน  13:10 น. - 16:40 น.

หมายเหตุ

           สัปดาห์นี้เป็นช่วงการสอบกลางภาคเรียนที่ 1  จึงไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ค่ะ