บันทึกอนุทิน
วันที่ 24 ตุลาคม 2557
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 13:10 น. - 16:40 น.
องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ แล้วให้แต่ละคนบอกว่าของเล่นที่ตนทำมา เป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร ซึ่งมี่ดังนี้
- น.ส.นฤมล เส้งเซ่ง (โยนไข่)
- นายวรมิตร สุภาพ (เครื่องบินกระดาษ)
- น.ส.บุณยาพร พลคร (กระป๋องโยกเยก)
- น.ส.อารียา เอี่ยมโพธิ์ (ป.ปลาตากลม)
- น.ส.อริสรา ภูษิต (แก้วกระโดด)
- น.ส.ธนาภรณ์ ใจกล้า (นักดำน้ำ)
- น.ส.พรวิมล ปาผล (กบกระโดด)
- น.ส.สิโรธร ลอองเอก (บูมเมอแรง)
- น.ส.ประภัสสร หนูศิริ (ปืนยิงลูกบอลจากลูกโป่ง)
- น.ส.วรรณา เอี่ยมวิสุทธิสาร (ธนูจากไม้ไอติม)
- น.ส.กัญญารัตน์ หนองหงอก (กระป๋องผิวปาก)
- น.ส.อรุณี พระนารินทร์ (ตุ๊กตาโยกเยก)
- น.ส.กันยารัตน์ ทุยเที่ยงสัตย์ (เรือโจรสลัดลอยน้ำ)
- น.ส.เนตรนภา ไชยแดง (กังหันบิน)
- น.ส.วรรวิภา โพธิ์งาม (ไก่กระต๊าก)
- น.ส.เจนจิรา ต่อศรี (แท่นยิง)
- น.ส.บุษราคัม สะรุโณ (เขาวงกต)
- น.ส.สุธิดารัตน์ เกิดบุญมี (กงจักรมหัศจรรย์)
- น.ส.ทิพย์มณี สมศรี (หนูวิ่ง)
- น.ส.พิชากร แก้วน้อย (รถพลังลมลูกโป่ง)
- น.ส.วรุญยุพา เลิศศรี (ลูกข่าง)
- น.ส.ณัฐชยา ชาญณรงค์ (รถของเล่น)
- น.ส.กัตติกา สบานงา (ไหมพรมเต้นระบำ)
- น.ส.กมลมาศ จันทร์ไพศรี (ป๋องแป๋ง)
- น.ส.นิศากร บัวกลาง (โมบายสายรุ้ง)
- น.ส.ศศิภา กองทรง (ฟองสบู่แสนเพลิน)
- น.ส.มธุรินทร์ อ่อนพิมพ์ (ขวดน้ำหนังสติ๊ก)
- น.ส.อริสา ยุนุห์ (จรวดจากหลอดกาแฟ)
- น.ส.ภัสสร ศรีพวาทกุล (รถหลอดด้าย) ***ดิฉันลืมให้เพื่อนถ่ายรูปตอนนำเสนอให้
- น.ส.ดวงกมล คันตะลี (จั๊กจั่น)
- น.ส.สุนิสา บุดดารวม (กลองแขก)
- น.ส.ศิรวรรณ ญาณสูตร (ประทัดกระดาษ)
- น.ส.บุศรา นิ่มอนงค์ (รถล้อเดียว)
- น.ส.อินธุอร ศรีบุญชัย (เป่ารถ)
- น.ส.น้ำพุ ยอดสุข (เรือใบไม่ล่ม)
- น.ส.สกาวเดือน สอิ้งทอง (ทะเลในขวดน้ำ)
- น.ส.ชนกนันท์ แบนกระโทก (แก้วส่งเสียง)
อาจารย์ก็ได้พูดถึงหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ ภายในกลุ่มเรียน 104 แล้วถามนักศึกษาว่าแต่ละหน่วยสามารถประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ได้อย่างไรจากที่เพื่อนได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ ต่อมาอาจารย์ได้แนะนำเรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ว่าต้องมีวัตถุประสงค์ เน้นด้านสติปัญญา ต้องมีสาระที่ควรเรียนรู้ ต้องมีประสบการณ์สำคัญทั้ง 4 ด้าน แตกเนื้อหาเป็น Mind Map ต้องมีบูรณาการทักษะรายวิชา เช่น คณิตศาสตร์ - เปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า วิทยาศาสตร์ - การสังเกต การคาดคะเนเหตุการณ์ ต้องมีกิจกรรมหลักทั้ง 6 กิจกรรม และต้องมีกรอบพัฒนาการและกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน
สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ในการประดิษฐ์สื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย สามารถสอนเด็กปฐมวัยให้รู้จักประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตนเอง และนอกจากนี้ดิฉันจะนำความรู้ เรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ มาใช้กับการเป็นครูปฐมวัยในอนาคต เพื่อใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย ให้เป็นไปตามแผนที่เราวางไว้ สอนให้ถูกต้องตามหลักการและสอนอย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
เทคนิคการสอน
วันนี้อาจารย์ได้สอนโดยการบรรยายและใช้สื่อมัลติมีเดีย (Power point) ประกอบในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น และนอกจากนี้ผู้เรียนยังได้รับความรู้เพิ่มเติมโดยตรง จากการที่เพื่อนออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียน พร้อมกับอธิบายว่าของเล่นชิ้นนั้นเป็นวิทยาศาสตร์อย่างไร
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
วันนี้ดิฉันมาเรียนทันเวลา แต่งกายถูกระเบียบ เรียบร้อย ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ ตั้งใจจดความรู้เพิ่มเติมจากการเรียนในวันนี้ และดิฉันรู้สึกตื่นเต้นนิดหน่อย เมื่อต้องออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียน
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนๆสนใจฟังเพื่อนเวลาที่เพื่อนออกไปนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียนอย่างตั้งใจ และช่วยกันตอบคำถามเวลาที่อาจารย์ถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนในวันนี้
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย สนใจฟังนักศึกษาทุกคน เมื่อนักศึกษาออกมานำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียนอย่างตั้งใจ พร้อมถามคำถามและให้ข้อเสนอแนะในการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ต่างๆ แต่ช่วงกลางคาบเรียนเสียงไลน์ในโทรศัพท์มือถืออาจารย์ดังหลายรอบ สักพักอาจารย์ก็ได้ปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนในระหว่างการเรียนการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น