บันทึกอนุทิน
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 13:10 น. - 16:40 น.
องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนคนที่ยังไม่ได้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์และคนที่อาจารย์บอกให้ไปแก้ของเล่นวิทยาศาสตร์ ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งมีดังนี้
- น.ส.สุธิดารัตน์ เกิดบุญมี (กงจักรมหัศจรรย์)
ต่อมาอาจารย์ก็ให้เพื่อนอีก 2 กลุ่ม ที่โดนแก้วิธีการสอนมาสอนใหม่หน้าชั้นเรียน ซึ่งมีดังนี้
วันที่ 1 หน่วย แปรงสีฟัน
- เริ่มต้นการสอนโดยใช้เพลงสวัสดี อ่านคำคล้องจองแปรงสีฟันให้เด็กฟัง สอนให้เด็กรู้จักชื่อและชนิดของแปรงสีฟัน ว่ามีอะไรบ้าง มีแปรงสีฟันเด็ก แปรงสีฟันผู้ใหญ่ และแปรงสีฟันไฟฟ้า
คำแนะนำจากอาจารย์
- อาจารย์แนะนำดังนี้ ให้อ่านคำคล้องจองแล้วให้เด็กอ่านตาม ให้เด็กออกมาเลือกภาพแปรงสีฟัน ถ้าเป็นเด็กเล็กนำมาแปะด้านล่าง ให้ใช้การจับ 1 : 1 เช่น แปรงสีฟันเด็ก : ไม่ใช่แปรงสีฟันเด็ก เพื่อเป็นการนับจำนวน ว่ามีมากกว่าอยู่เท่าไร ครูควรถามเนื้อหาในคำคล้องจองจากเด็ก เพื่อทบทวนว่าเด็กมีความเข้าใจในคำคล้องจองหรือไม่ แล้วนอกจากนี้เด็กยังรู้จักแปรงชนิดไหนอีก เพื่อเป็นการถามประสบการณ์เดิมของเด็ก ควรใช้คำศัพท์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ควรเลือกเพลงให้เหมาะกับการเรียน ไม่ควรเลือกเพลงที่เต้นจนเกินไป
วันที่ 2 หน่วย ผีเสื้อ
- เริ่มต้นการสอนโดยการใช้เพลงสวัสดีแบบไทยๆ แล้วสอนให้เด็กรู้จักลักษณะและส่วนประกอบของผีเสื้อ มีรูปผีเสื้อมาให้เด็กดู 2 ชนิด
คำแนะนำจากอาจารย์
- อาจารย์แนะนำดังนี้ ให้ใช้เพลงHello Hello how are you. จะดีกว่า ครูควรถามเด็กว่ารู้จักแมลงอะไรบ้าง ครูร้องเพลงผีเสื้อ แล้วถามเด็กว่า ในเพลงมีผีเสื้อสีอะไรบ้าง ครูเอารูปผีเสื้อให้เด็กดู แล้วถามเด็กว่าเคยเห็นผีเสื้อแบบนี้ไหม มีสีอะไร ผีเสื้อกำลังทำอะไรอยู่ ควรเขียนตารางให้ถูกต้องว่าส่วนประกอบของผีเสื้อมีอะไรบ้าง มีหนวด ท่องวง ส่วนอก ขา อวัยวะเพศ ปีก และตารวม
วันที่ 1 หน่วย กล้วย
- เริ่มต้นการสอนโดยครูร้องเพลงกล้วย แล้วให้เด็กร้องตาม แล้วสอนให้เด็กรู้จักกล้วยชนิดต่างๆ ว่ามีกล้วยอะไรบ้าง มีกล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหักมุก เป็นต้น
คำแนะนำจากอาจารย์
- อาจารย์แนะนำดังนี้ ให้เด็กอ่านตามครู แล้วครูร้องให้เด็กร้องตาม แล้วครูและเด็กร่วมกันร้อง ครูควรถามเด็กว่าในเพลงมีกล้วยอะไรบ้าง แล้วครูก็เขียนเป็น Mind Map แล้วครูก็ถามเด็กว่ารู้จักกล้วยชนิดไหนอีก พอเด็กตอบ ครูก็เขียนเพิ่มลงไปใน Mind Map ครูมีรูปกล้วยให้เด็กดู แล้วบอกเด็กว่าคือกล้วยอะไร ให้เด็กแยกกล้วยหอมออกมาด้านล่าง โดยการถามว่า อันไหนมีมากกว่ากัน พิสูจน์โดยการจับ 1 : 1 แล้วสรุปว่าอันไหนมีมากกว่ากัน ครูทบทวนว่าเด็กรู้จักกล้วยกี่ชนิด มีอะไรบ้าง และอาจารย์แนะนำเรื่องการเขียน Mind Map ควรเขียนเป็นแผ่นเดียว
อาจารย์ได้สาธิตวิธีการสอน Cooking โดยการทำทาโกะยากิ จัดโต๊ะหน้าชั้นเรียนเป็น 4 มุม ควรตัดกระดาษรองใต้ถ้วย กิจกรรม Cooking จะได้ศิลปะไปในตัวด้วย ครูต้องไม่ลืมที่จะตั้งคำถามในระหว่างการทำ Cooking ครูอาจบอกว่าให้เด็กตักปูอัด ครึ่งช้อนชา แครอท ครึ่งช้อนชา เพื่อเป็นการสอนทักษะทางคณิตศาสตร์ไปด้วย
อุปกรณ์และวัตถุดิบที่ใช้ในการทำทาโกะยากิ มีดังนี้
1. เตาที่ใช้สำหรับทำทาโกะยากิ
2. เนย
3. ไข่ (ใช้แทนแป้ง)
4. เครื่องต่างๆ เช่น ปูอัด ต้นหอม แครอท ข้าว
5. ซอสปรุงรส
6. มีด
7. ช้อน-ส้อม
8. ถ้วยพลาสติก
ซึ่งบรรยากาศในการทำทาโกะยากิ มีดังนี้
จุดเตรียมหั่นเครื่องไว้ใส่ในทาโกะยากิ
อาจารย์กำลังอธิบายวิธีการทำทาโกะยากิ
ดิฉันและเพื่อนกำลังใส่เครื่องและซอสเพื่อปรุงรส
ใส่เครื่องพร้อมปรุงเรียบร้อย พร้อมเทลงเตาค่ะ
ใช้เนยหยอดลงไป เพื่อทดสอบเตาว่าร้อนหรือยัง
พอเตาร้อน ก็ใส่ไข่พร้อมเครื่องลงไป พอสุกแล้วพลิกด้านไปมา
เสร็จแล้วก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ
สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ในเรื่อง วิธีการสอนในหน่วยต่างๆ ไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และดิฉันจะนำความรู้ในเรื่อง การทำ Cooking ไปใช้สอนเด็กปฐมวัยให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และที่สำคัญในระหว่างการทำ Cooking ครูต้องไม่ลืมที่จะตั้งคำถามกับเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการสังเกต และพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
เทคนิคการสอน
วันนี้อาจารย์ได้สอนโดยการบรรยายอย่างเดียว เพราะ การสอนวิธีการสอนที่ถูกต้องและการสอนทำ Cooking จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย และเข้าใจได้อย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น กว่าการสอนโดยการใช้สื่อมัลติมีเดีย
การประเมินผล
ประเมินตนเอง
วันนี้ดิฉันแต่งกายถูกระเบียบ เรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน เวลาอาจารย์สอนและอธิบายวิธีการสอนและวิธีการทำ Cooking ดิฉันก็ตั้งใจจดสิ่งที่เป็นความรู้ และคิดตามเมื่ออาจารย์ถามคำถาม
ประเมินเพื่อน
วันนี้เพื่อนขาดเรียนหลายคน ทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมกันทำกิจกรรมCookingกันอย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย มาสอนตรงเวลา ตั้งใจสอน แต่บางครั้งอาจารย์ก็พูดให้นักศึกษาเข้าใจได้ยากไปเล็กน้อย อาจารย์มีท่าทางเครียด เมื่อตรวจแผนการจัดประสบการณ์และวิธีการสอน แต่อาจารย์ยิ้มแย้ม แจ่มใส ตอนทำ Cooking (ทาโกะยากิ,ไข่หรรษา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น