Welcome to the blog of Ms.Passorn Sripawatakul doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วันที่  3  ตุลาคม  2557
ครั้งที่  7  เวลาเรียน  13:10 น. - 16:40 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
             วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษา  อุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์มีดังนี้  1. กระดาษสี  2. กรรไกร  3. ไหมพรม
4. ที่เจาะกระดาษ  5. แกนกระดาษทิชชู่  6. กาว  7. ดินสอ  8. สีเมจิก      
วิธีการทำ  นำแกนกระดาษทิชชู่มาตัดครึ่งนึง อีกครึ่งนึงเราก็แบ่งให้เพื่อน ตัดไหมพรมให้มีความยาวประมาณ 1 วา ต่อมานำแกนกระดาษทิชชู่มาทาบบนกระดาษสี แล้ววาดรูปวงกลมตามขอบของแกนกระดาษทิชชู่ เสร็จแล้วใช้กรรไกรตัดรูปวงกลมที่เราวาดไว้ที่กระดาษสี แล้ววาดรูปอะไรก็ได้ในวงกลมและตกแต่งระบายสีให้สวยงาม ต่อมาใช้ที่เจาะกระดาษเจาะรูตรงกลางของด้านข้างแกนกระดาษทิชชู่ทั้ง 2 ข้าง แล้วนำไหมพรมที่เราตัดไว้มาร้อยใส่ในรูที่เราเจาะตรงแกนกระดาษทิชชู่ ต่อมาก็ผูกปมที่ไหมพรม เพื่อไม่ให้หลุดจากแกนกระดาษทิชชู่ ต่อมาให้นำกระดาษสีที่เราได้ตัดเป็นวงกลมและวาดรูประบายสีเสร็จแล้ว นำมาทากาวแล้วติดตรงกลางของแกนกระดาษทิชชู่ ดังภาพ
หลังจากที่ทุกคนประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์เสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาลองบอกวิธีเล่นของสื่อวิทยาศาสตร์ชิ้นนี้ให้อาจารย์ฟัง เพื่อนบางคนบอกว่า เล่นโดยใช้วิธีการดึงเชือกให้ตึงแล้วหมุน แต่บางคนก็บอกว่า เล่นโดยวิธีการเอาไหมพรมมาคล้องที่คอ แล้วดึงไหมพรมด้านล่างให้ตึงด้วยมือทั้ง 2 ข้าง แล้วขยับไปมาจะทำให้แกนกระดาษทิชชู่เลื่อนขึ้นมาด้านบน 
จากการสังเกตหลังจากการทำกิจกรรม สรุปได้ว่า สิ่งที่ทำให้แกนกระดาษทิชชู่เลื่อนขึ้นมาด้านบน คือ การดึงไหมพรมให้ตึงและการขยับไปมาของการดึงไหมพรม และจากการทำกิจกรรมจะทำให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ การสังเกต การรวบรวมข้อมูลและสรุปผลการทดลองด้วยตนเอง โดยใช้เครื่องมือจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งจากการทำกิจกรรมในวันนี้ เป็นการสร้างองค์ความรู้ โดยการสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง (Constructivism) 


อุปกรณ์ในการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์


วาดรูปวงกลมที่กลางกระดาษสี


ตัดรูปวงกลมแล้วนำไปวาดรูประบายสี


นำไหมพรมมาร้อยใส่รูที่เจาะไว้ แล้วผูกปม


นำกระดาษรูปวงกลมมาทากาว แล้วติดตรงกลางแกนกระดาษทิชชู่


เสร็จแล้วก็นำมาเล่น โดยการนำไหมพรมมาคล้องคอ แล้วดึงไหมพรมด้านล่างให้ตึง แล้วขยับไปมา แกนกระดาษทิชชู่ก็จะเลื่อนขึ้นด้านบน

บทความที่เพื่อนนำเสนอ
             - นายวรมิตร           สุภาพ     เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กิจกรรม การทำน้ำเครื่องดื่มสมุนไพร
             - น.ส.กันยารัตน์     หนองหงอก    เรื่อง สอนลูกเรื่องแสงและเงา
             - น.ส.ณัฐชยา        ชาญณรงค์     เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานเด็กปฐมวัย
             - น.ส.สุนิสา           บุดดารวม       เรื่อง สอนลูกเรื่องไฟฉาย
             - น.ส.กันยารัตน์     ทุยเที่ยงสัตย์  เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง กิจกรรมที่ส่งเสริมเรื่องแรงโน้มถ่วง เช่น มุมไม้บล็อก การเล่นกลางแจ้ง เป็นต้น

เทคนิคการสอน
              วันนี้อาจารย์ได้ทำการสอนแบบการสาธิต สอนโดยการบรรยาย โดยใช้สื่อมัลติมีเดียในการประกอบการเรียนการสอน

การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
               วันนี้ดิฉันตั้งใจทำกิจกรรมภายในห้องเรียนและตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยหรือเล่นกับเพื่อนระหว่างที่อาจารย์สอนและอภิปราย

ประเมินเพื่อน
               วันนี้เพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจทำกิจกรรมประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์กันอย่างตั้งใจ สนุกสนาน ร่าเริง เพราะ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองในการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อนบางคนก็มีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยการบอกวิธีเล่นสื่อวิทยาศาสตร์ของตนเองให้อาจารย์และเพื่อนๆได้รู้และทดลองทำตาม

ประเมินอาจารย์
               วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย ยิ้มแย้ม แจ่มใส และอาจารย์คอยอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา โดยการอธิบายวิธีการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ให้แก่นักศึกษาและอาจารย์ก็สาธิตวิธีการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ไปพร้อมๆกับนักศึกษาอีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น