Welcome to the blog of Ms.Passorn Sripawatakul doctorate in early childhood education course on Science Experiences Management for Early Childhood .

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน
วันที่  10  ตุลาคม  2557
ครั้งที่  8  เวลาเรียน  13:10 น. - 16:40 น.

หมายเหตุ

           สัปดาห์นี้เป็นช่วงการสอบกลางภาคเรียนที่ 1  จึงไม่มีการเรียนการสอนในวันนี้ค่ะ


                                                       





วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วันที่  3  ตุลาคม  2557
ครั้งที่  7  เวลาเรียน  13:10 น. - 16:40 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
             วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษา  อุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์มีดังนี้  1. กระดาษสี  2. กรรไกร  3. ไหมพรม
4. ที่เจาะกระดาษ  5. แกนกระดาษทิชชู่  6. กาว  7. ดินสอ  8. สีเมจิก      
วิธีการทำ  นำแกนกระดาษทิชชู่มาตัดครึ่งนึง อีกครึ่งนึงเราก็แบ่งให้เพื่อน ตัดไหมพรมให้มีความยาวประมาณ 1 วา ต่อมานำแกนกระดาษทิชชู่มาทาบบนกระดาษสี แล้ววาดรูปวงกลมตามขอบของแกนกระดาษทิชชู่ เสร็จแล้วใช้กรรไกรตัดรูปวงกลมที่เราวาดไว้ที่กระดาษสี แล้ววาดรูปอะไรก็ได้ในวงกลมและตกแต่งระบายสีให้สวยงาม ต่อมาใช้ที่เจาะกระดาษเจาะรูตรงกลางของด้านข้างแกนกระดาษทิชชู่ทั้ง 2 ข้าง แล้วนำไหมพรมที่เราตัดไว้มาร้อยใส่ในรูที่เราเจาะตรงแกนกระดาษทิชชู่ ต่อมาก็ผูกปมที่ไหมพรม เพื่อไม่ให้หลุดจากแกนกระดาษทิชชู่ ต่อมาให้นำกระดาษสีที่เราได้ตัดเป็นวงกลมและวาดรูประบายสีเสร็จแล้ว นำมาทากาวแล้วติดตรงกลางของแกนกระดาษทิชชู่ ดังภาพ
หลังจากที่ทุกคนประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์เสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาลองบอกวิธีเล่นของสื่อวิทยาศาสตร์ชิ้นนี้ให้อาจารย์ฟัง เพื่อนบางคนบอกว่า เล่นโดยใช้วิธีการดึงเชือกให้ตึงแล้วหมุน แต่บางคนก็บอกว่า เล่นโดยวิธีการเอาไหมพรมมาคล้องที่คอ แล้วดึงไหมพรมด้านล่างให้ตึงด้วยมือทั้ง 2 ข้าง แล้วขยับไปมาจะทำให้แกนกระดาษทิชชู่เลื่อนขึ้นมาด้านบน 
จากการสังเกตหลังจากการทำกิจกรรม สรุปได้ว่า สิ่งที่ทำให้แกนกระดาษทิชชู่เลื่อนขึ้นมาด้านบน คือ การดึงไหมพรมให้ตึงและการขยับไปมาของการดึงไหมพรม และจากการทำกิจกรรมจะทำให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ การสังเกต การรวบรวมข้อมูลและสรุปผลการทดลองด้วยตนเอง โดยใช้เครื่องมือจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งจากการทำกิจกรรมในวันนี้ เป็นการสร้างองค์ความรู้ โดยการสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง (Constructivism) 


อุปกรณ์ในการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์


วาดรูปวงกลมที่กลางกระดาษสี


ตัดรูปวงกลมแล้วนำไปวาดรูประบายสี


นำไหมพรมมาร้อยใส่รูที่เจาะไว้ แล้วผูกปม


นำกระดาษรูปวงกลมมาทากาว แล้วติดตรงกลางแกนกระดาษทิชชู่


เสร็จแล้วก็นำมาเล่น โดยการนำไหมพรมมาคล้องคอ แล้วดึงไหมพรมด้านล่างให้ตึง แล้วขยับไปมา แกนกระดาษทิชชู่ก็จะเลื่อนขึ้นด้านบน

บทความที่เพื่อนนำเสนอ
             - นายวรมิตร           สุภาพ     เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กิจกรรม การทำน้ำเครื่องดื่มสมุนไพร
             - น.ส.กันยารัตน์     หนองหงอก    เรื่อง สอนลูกเรื่องแสงและเงา
             - น.ส.ณัฐชยา        ชาญณรงค์     เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานเด็กปฐมวัย
             - น.ส.สุนิสา           บุดดารวม       เรื่อง สอนลูกเรื่องไฟฉาย
             - น.ส.กันยารัตน์     ทุยเที่ยงสัตย์  เรื่อง สอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง กิจกรรมที่ส่งเสริมเรื่องแรงโน้มถ่วง เช่น มุมไม้บล็อก การเล่นกลางแจ้ง เป็นต้น

เทคนิคการสอน
              วันนี้อาจารย์ได้ทำการสอนแบบการสาธิต สอนโดยการบรรยาย โดยใช้สื่อมัลติมีเดียในการประกอบการเรียนการสอน

การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
               วันนี้ดิฉันตั้งใจทำกิจกรรมภายในห้องเรียนและตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยหรือเล่นกับเพื่อนระหว่างที่อาจารย์สอนและอภิปราย

ประเมินเพื่อน
               วันนี้เพื่อนๆทุกคนก็ตั้งใจทำกิจกรรมประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์กันอย่างตั้งใจ สนุกสนาน ร่าเริง เพราะ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองในการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อนบางคนก็มีส่วนร่วมในกิจกรรม โดยการบอกวิธีเล่นสื่อวิทยาศาสตร์ของตนเองให้อาจารย์และเพื่อนๆได้รู้และทดลองทำตาม

ประเมินอาจารย์
               วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย ยิ้มแย้ม แจ่มใส และอาจารย์คอยอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา โดยการอธิบายวิธีการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ให้แก่นักศึกษาและอาจารย์ก็สาธิตวิธีการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ไปพร้อมๆกับนักศึกษาอีกด้วย


วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วันที่  26  กันยายน  2557
ครั้งที่  6  เวลาเรียน  13:10 น. - 16:40 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับในวันนี้


                       


สิ่งที่จะนำไปพัฒนา
              จากสิ่งที่ได้เรียนในวันนี้ดิฉันจะนำความรู้ในการคิดหน่วยต่างๆไปใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยตามความเหมาะสมและจัดหน่วยการเรียนตามความสนใจของเด็ก และสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด 
               วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์ได้เตรียมอุปกรณ์มาให้นักศึกษา อุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์มีดังนี้  1. กระดาษสี  2. คลิปหนีบกระดาษ           3. กรรไกร
วิธีการทำ  นำกระดาษสีที่อาจารย์แจกให้มาพับเป็น 3 ส่วน เท่าๆกัน และเราก็ตัดกระดาษออกตามที่พับจะได้กระดาษ 3 ส่วน เราใช้กระดาษ 1 ส่วน อีก 2 ส่วนก็ให้เพื่อนคนที่ยังไม่ได้ ต่อมานำกระดาษมาพับครึ่ง แล้วใช้กรรไกรตัดกระดาษส่วนล่าง โดยตัดจากกึ่งกลางขึ้นไปตรงๆจนถึงส่วนที่เราพับไว้ และขั้นตอนสุดท้ายให้พับกระดาษตรงส่วนที่เราเพิ่งตัดที่ได้ออกมาเป็น 2 หาง พับหางแต่ละข้างให้หันไปคนละทาง ส่วนกระดาษอีกด้านนึงให้พับปลายกระดาษขึ้นมาเล็กน้อย แล้วใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบไว้ตรงที่พับ ดังภาพ
หลังจากที่ทุกคนประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์เสร็จแล้ว อาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละแถวออกมาทดลองเล่น
โดยการโยนกระดาษขึ้นไปด้านบน แล้วกระดาษจะหมุนตกลงมาเหมือนลูกยาง โดยอาจารย์ให้นักศึกษาที่นั่งแถวที่ 1และ2 ทำเหมือนกัน (หางยาว) นักศึกษาที่นั่งแถวที่ 3 - 5 ทำเหมือนกัน (หางสั้น) แล้วสังเกตความแตกต่างระหว่างการทำหางสั้นกับหางยาว ว่ามีความแตกต่างในขณะสื่อร่อนลงมาอย่างไร
จากการสังเกตหลังจากการทำกิจกรรม สรุปได้ว่า สิ่งที่ทำให้กระดาษตกลงมา คือ 1.แรงโน้มถ่วง 2.อากาศ และจากการทำกิจกรรมจะทำให้เกิดความหลากหลาย ทำให้เด็กได้สังเกตจะสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ความหลากหลายของวิธีการเป็นตัวจุดประกายนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการสร้างองค์ความรู้ โดยการสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง (Constructivism)


พับกระดาษเป็น 3 ส่วน


ใช้กระดาษ 1 ส่วน มาพับครึ่ง


ตัดกระดาษขึ้นไปถึงตรงกลาง


พับปลายกระดาษขึ้นมาเล็กน้อย แล้วใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบไว้

บทความที่เพื่อนนำเสนอ
             - น.ส.มธุรินทร์     อ่อนพิมพ์   วิทยาศาสตร์กับการทดลอง กิจกรรม ดอกอัญชันทดสอบกรด-ด่าง
             - น.ส.จุฑามาศ    เขตนิมิตร    บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
             - น.ส.บุษราคัม    สะรุโณ        บทความ เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
             - น.ส.พรวลัญช์    คงสัตย์       บทความ เรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ
             - น.ส.เนตรนภา    ไชยแดง     บทความ เรื่อง ฝึกทักษะสังเกตนำลูกสู่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

เทคนิคการสอน
             วันนี้อาจารย์ได้สอนแบบการยกตัวอย่างและสอนแบบบรรยาย โดยในวันนี้มีแผนผังความคิดของนักศึกษาประกอบด้วย มีหน่วยดังนี้ 1.กบ 2.แปรงสีฟัน 3.ดอกมะลิ 4.ไก่ 5.ส้ม 6.กะหล่ำปลี 7.ปลา 8.กล้วย 9.ผีเสื้อ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง 
            วันนี้ดิฉันตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าจะง่วงนอนไปบ้างเล็กน้อย แต่ดิฉันก็ไม่หลับในห้องเรียนและสนใจในสิ่งที่อาจารย์ได้อธิบาย

ประเมินเพื่อน
            วันนี้เพื่อนทุกคนก็ตั้งใจทำกิจกรรม บางคนก็ออกมายกตัวอย่างวิธีการเล่นตามความคิดของตนเองให้อาจารย์และเพื่อนๆดู ก่อนออกไปทดลองเล่นหน้าห้อง

ประเมินอาจารย์
            วันนี้อาจารย์ยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ในขณะที่อาจารย์สอนอาจารย์ไม่ได้ใส่รองเท้า ระหว่างการประดิษฐ์สื่ออาจารย์ก็คอยให้คำแนะนำแก่นักศึกษาเป็นอย่างดี เพื่อที่นักศึกษาจะได้ทำสื่อได้ถูกต้อง